วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก

เป็นการติดเชื้อไวรัส มีเชื้ออยู่สองชนิดใหญ่ๆที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก คือเชื้อ เดงกี่ (dengue) และชิกุนกุนย่า(chigunkunya) มากกว่า 90% เกิดจากเชื้อตัวแรก เชื้อเดนกี่มี 4 พันธ์ โดยทั่วไป ในการรับเชื้อครั้งแรก มักไม่ค่อยมีอาการรุนแรงมากนัก ซึ่งสามารถเกิดในเด็ก ๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป การติดเชื้อครั้งต่อไปจะรุนแรงขึ้น และภูมิคุ้มกันที่มีจะไม่ช่วยป้องกันไม่ให้เราเป็น แต่กลับทำให้การติดเชื้อครั้งหลังรุนแรงขึ้น หมายความว่าเป็นแล้ว เป็นอีกได้



\

พาหะ ยุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรค ยุงนี้จะกัดคนที่เป็นโรค และไปกัดคนอื่น ๆ ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร ยุงนี้ชอบแพร่พันธ์ในน้ำนิ่ง หลุม โอ่งน้ำขัง และจะออกหากินในเวลากลางวัน



อาการ ใน การติดเชื้อครั้งแรก มักจะมีอาการไข้สูงลอย เหมือนไข้หวัดใหญ่ และจะไม่ค่อยมีอาการเลือดออกหรือช๊อคต่อมา ถ้าได้รับเชื้อซ้ำ ซึ่งอาจเป็นพันธุ์เดียวกัน หรือคนละพันธ์ ก็จะมีการกระตุ้นเกิดปฏิกิริยา จำไว้ว่า คนเป็นไข้เลือดออก แย่จากภูมิคุ้มกันของเขาเอง ที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ก่อให้เกิดอาการเลือดออก การบวมจากสารน้ำไหลออกจากหลอดเลือดที่โดนทำลาย อาจมีน้ำในปอด ตับ ลำไส้ กระเพาะ และช๊อคได้ โดยทั่วไป การติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง มักตามหลังการติดเชื้อครั้งแรก ไม่เกิน 5 ปี นั่นคือ เราพบว่า มันเป็นโรคของเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 10 ขวบ แต่ปัจจุบัน พบว่า มีการกลายพันธ์ของไข้เลือดออก ทำให้เป็นรุนแรงในผู้ใหญ่ได้



อาการของการติดเชื้อซ้ำ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะไข้สูง จะมีไข้สูงลอย ไม่ยอมลง หน้าแดง ปวดหัว เมื่อย ดื่มน้ำบ่อย มักมีอาเจียน เบื่ออาหาร มักไม่ค่อยมีอาการหวัด คัดจมูก ไอ หรือเจ็บคอ แต่บางคนก็มี อาจมีท้องเสีย หรือท้องผูกราว ๆ 3 วันจะมีผื่นขึ้นตามตัว จุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามหน้า ซอกรักแร้ แขน ขา อาจมีปวดท้องในช่วงนี้ ถ้าทำการทดสอบที่เรียกว่า ทูร์นิเคต์(Tourniquet) โดยรัดแขนด้วยเชือกหรือเครื่องวัดความดันประมาณ 5 นาที จะพบจุดเลือดออกมากกว่า 20 จุด ในวงกลมที่วาดไว้ที่ท้องแขนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ถ้าไม่เป็นหนัก จะดีขึ้นใน 3-7 วันและเข้าสู่ระยะหาย
  • ระยะช๊อคและเลือดออก มักจะเกิดในวันที่ 3-7 ในระยะนี้ เด็กไข้ลง แต่แทนที่อาการจะดี พบว่า อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม กระสับกระส่าย ตัวเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะเข้ม ออกน้อย ชีพจรเต้นเบาเร็ว ความดันต่ำ ถ้าไม่รีบรักษาจะช๊อคและเสียชีวิตได้ ภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ เช่น จ้ำตามผิวหนัง อาเจียน ถ่าย เลือดกำเดา ประจำเดือนเป็นเลือดมาก ระยะนี้จะกินเวลา 2-3 วันและจะเข้าสู่ระยะต่อไป
  • ระยะฟื้นตัว  อาการจะดีขึ้น อาการแรกที่บ่งว่าหายคือ จะเริ่มอยากกินอาหาร มีผื่นของการหาย  ที่เป็นแดงสลับขาวแผ่ตามแขนขา ตัว

อาการอันตราย

เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่ง  ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

1.       ผู้ป่วยซึม หรืออ่อนเพลียมาก ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้น้อยลง

2.       คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา

3.       ปวดท้องมาก 

4.       มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดา อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือเป็นสีดำ

5.       กระสับกระส่าย หงุดหงิด

6.       พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ

7.       กระหายน้ำตลอดเวลา

8.       ร้องกวนตลอดเวลาในเด็กเล็ก

9.       ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลายๆ

10.    ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะเป็นเวลานาน

การรักษา ไม่ มียาเฉพาะ รักษาตามอาการ พยายามให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้ามีความสงสัย ว่าไข้ยังสูง มีตัวแดง เกิดในหน้าฝน ต้องรีบนำไปเทสต์ทันที



การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  2. เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดๆ  ลูบเบาๆบริเวณหน้า ลำตัว แขน และขา แล้วพักไว้บริเวณหน้าผาก  ซอกคอ รักแร้  แผ่นอก  แผ่นหลัง และขาหนีบ  ทำติดต่อกันอย่างน้อยนาน 15 นาที  แล้วให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าที่ไม่หนามาก หรือห่มผ้าบางๆ นอนพักผ่อน  ระหว่างการเช็ดตัวถ้าผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ด  แล้วให้ผู้ป่วยห่ม ผ้า พอหายหนาวสั่นจึงค่อยเช็ดต่อ
  3. ให้รับประทานยาลดไข้พาราเซทตามอลเวลามีไข้สูง  ตัวร้อนจัด หรือปวดศีรษะ  ปวดเมื่อยตามตัวมาก โดยให้ห่างกันอย่างน้อย 4  ชั่วโมง  ห้ามรับประทานยาลดไข้ชนิดอื่นโดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิดหรือยาพวกไอบรูโพรเฟน เพราะอาจจะทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือตับวายได้
  4. ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามและไม่รับประทานยาอื่นที่ไม่จำเป็น 
    หมายเหตุ ใน ระยะไข้สูงของโรคไข้เลือดออก การให้ยาลดไข้ จะช่วยให้ไข้ลดลงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วไข้ก็จะสูงขึ้นอีก อาการไข้ไม่สามารถลดลงถึงระดับปกติได้  การเช็ดตัวลดไข้ จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น
  5. ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS)  หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย   ถ้ามีคลื่นไส้อาเจียน   ไม่สามารถดื่มน้ำได้ ให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่น้ำเปล่าอย่างเดียว  อาหารควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น นม ไอศกรีม ข้าวต้ม เป็นต้น ควรงดเว้นอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสีแดง  ดำ  หรือสีน้ำตาล
  6. มาพบแพทย์ตามนัด  เพื่อตรวจเลือด

การป้องกัน

1. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด

  • การนอน  ควรนอนในมุ้งหรือในห้องติดมุ้งลวดที่ปลอดยุงลาย
  • การเล่น  ไม่ควรเล่นในมุมมืดหรือบริเวณที่ไม่มีลมพัดผ่าน
  • ห้องเรียนหรือห้องทำงาน  ควรมีแสงสว่างส่องได้ ทั่วถึง  มีลมพัดผ่านได้สะดวก  และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง  เช่น  แจกันดอกไม้ควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน พลูด่างควรปลูกในดิน

2. กำจัดยุง

  • ด้วยการพ่นสารเคมีในบริเวณมุมอับภายในบ้าน  ตู้เสื้อผ้า  และบริเวณรอบๆบ้านทุกสัปดาห์
  • กำจัดลูกน้ำ ภาชนะใส่น้ำภายในบ้านปิดฝาให้มิดชิด ถ้าไม่สามารถปิดได้  ให้ใส่ทรายอะเบท  หรือใส่ปลาหางนกยูง จานรองขาตู้กับข้าวใส่เกลือ น้ำส้มสายชู ผงซักฟอก จานรองกระถางต้นไม้
  • ใส่ทรายลงไปเพื่อดูดซับน้ำส่วนเกิน

3. วัสดุที่เหลือใช้รอบๆบ้าน  เช่น  กระป๋อง  กะลา  ยางรถยนต์เก่า ฯลฯ  ให้เผาหรือทำลายเสีย

ข้อสำคัญ
ถ้าผู้ป่วยอ่อนเพลีย ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง ตัวลาย
แสดงว่าเข้าสู่ระยะช็อก  (ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สติดี พูดจารู้เรื่อง)
เป็นระยะอันตรายของโรค ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
ระหว่างการเดินทางพยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น